พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

ด้านราชการ1229822227

                    พระองค์ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงกลาโหม กระทรวงวัง ในรัชสมัยพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรีที่ปรึกษาราชการ

ด้านศิลปกรรม

          งานสถาปัตยกรรมที่โปรดทำมาก คือ แบบพระเมรุ โดยตรัสว่า “เป็นงานที่ทำขึ้นใช้ชั่วคราวแล้วรื้อทิ้งไป เป็นโอกาสได้ทดลอง ใช้ปัญญาความคิดแผลงได้เต็มที่ จะผิดพลาดไปบ้าง ก็ไม่สู้กระไร ระวังเพียงอย่างเดียวคือเรื่องทุนเท่านั้น”

          ด้านสถาปัตยกรรม

               1185010904

        ออกแบบพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เมื่อแรกสร้างอาคารเรียนโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร การออกแบบก่อสร้างอาคารเรียนโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร

ด้านภาพจิตรกรรม

                    ภาพเขียน        ภาพเขียนสีน้ำมันประกอบพระราชพงศาวดาร แผ่นดินพระเจ้าท้ายสระครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นภาพช้างทรงพระมหาอุปราชแทงช้างพระที่นั่ง ภาพเขียนรถพระอาทิตย์ที่เพดานพระที่นั่งภานุมาศจำรูญ (พระที่นั่งบรมพิมาน) ภาพประกอบเรื่องธรรมาธรรมะสงคราม ภาพแบบพัดต่างๆ ฯล

K5541885-9

                                                                         อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1chakri_06_04_51_P02

งานออกแบบ     ออกแบบตรากระทรวงต่างๆ อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1 องค์พระธรณีบีบมวยผมที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา พระบรมรูปหล่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้จุฬาโลกมหาราชที่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า และทรงออกแบบพระเมรุมาศ และพระเมรุของพระบรมวงศ์หลายพระองค์

พระบรมรูปหล่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้จุฬาโลกมหาราช>>>

ด้านวรรณกรรม

                    มีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง เช่น โครงประกอบภาพจิตรกรรมภาพพระราชพงศาวดาร โคลงประกอบเรื่องรามเกียรติ์ ทรงพระนิพนธ์เมื่องานฉลองพระนครครบรอบร้อยปี

ด้านดุริยางคศิลป์และนาฏศิลป์???????????????????????????????

                   ทรงสนพระทัยทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากล โดยเฉพาะดนตรีไทย

ด้านบทละคร

                    ทรงนิพนธ์บทละครดึกดำบรรพ์ไว้หลายเรื่อง เช่น สังข์ทอง คาวี อิเหนา รามเกียรติ์

พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

พระประวัติunesco21

          พลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานิวัดติวงศ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย เมื่อวันอังคาร เดือน 6 ขึ้น 11 ค่ำ ปีกุน เบญจศก จ.ศ.1225 ตรงกับวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2406 และได้รับพระราชทานพระนามจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ โดยมีพระราชหัตเลขา ดังนี้

“สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยามผู้พระบิดา ขอตั้งนามบุตรชายที่ประสูตรจากหญิงแฉ่พรรณรายผู้มารดา ในวันอังคาร เดือน6 ขึ้น 11 ค่ำ ปีกุนเบญจศกนั้น พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าจิตรเจริญ (ต้นราชกุล จิตรเจริญ) สิงหนาม ขอจงมีความเจริญชนมายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ ศุภสารสมบัติ สุวรรณหิรัญรัตนยศบริวารศฤงคาร ศักดานุภาพ ตระบะเดชพิเศษคุณสุนทรศรีสวัสดิ พิพัฒนมงคลพิบุลยผลทุกประการ เทอญ” เมื่อครั้งสมเด็จพระราชบิดาสวรรคต ทรงมีพระชันษาแค่ 5 ปี แต่ทรงจำถึงตอนหนึ่งว่า “สมเด็จพระราชบิดาทรงประทับนั่งที่เก้าอี้ที่หมุนได้ ทรงฉลองพระองค์สีแดงสด”

          ในปี พ.ศ.2428 พระองค์ได้รับการสถาปนา จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมีพระราชดำริว่า

หม่อมเจ้าพรรณราย พระมารดาในพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์นั้น นับเป็นพระเจ้าหลานเธอ ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพระขนิษฐาร่วมพระชนก ในสมเด็จพระเทพศิริทราบรมราชินี (สมเด็จพระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)

ดังนั้น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ จึงมีพระอัยการ่วมกับพระองค์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการสถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ขึ้นเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ พร้อมกันนี้ทรงสถาปนาพระเชษฐภคินี ในพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ ขึ้นเป็นพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนขัตติยกัลยาด้วย

หลังจากที่พระองค์ได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณในตำแหน่งต่างๆ เช่น เสนาบดีกระทรงโยธาธิการ เสนาบดีกระทรวงการคลัง เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ผู้บัญชาการทหารเรือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำริเห็นควรที่จะสถาปนาให้ดำรงพระอิสริยยศที่ “กรมหลวง” ได้

กอปรกับการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักพรรดิพงศ์ ซึ่งเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอร่วมพระมารดาในพระองค์ ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงสถาปนาพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อปี พ.ศ.2448

เมื่อพ.ศ.2452 พระองค์ทรงประชวรด้วยโรคพระหทัยโต ขณะที่ยังทรงรับราชการในตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงวัง จึงได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตตามที่ทรงขอ

จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงแม้ด้วยพระโรคที่พระองค์เป็นอยู่นั้นไม่เอื้ออำนวยให้พระองค์ทรงสามารถรับราชการในตำแหน่งที่สำคัญๆได้ แต่พระองค์ก็ยังคงรับราชการส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

โดยทรงออกแบบงานต่างๆตามพระราชประสงค์ เช่น พระโกศ พระบรมอัฐิ และพระวิมานทองคำลงยาราชาวดี สำหรับประดิษฐาน พระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น

ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการเลื่อนกรมสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัดติวงศ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนริศรานุวัดติวงศ์ มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า

“สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ มหามกุฎพงศ์นฤบดินทร ปรมินทรานุชาธิเบนทร์ ปรเมนทรราชปิตุลา สวามิภักดิ์สยามวิชิต สรรพศิลปะสิทธิวิทยาธร สุรจิตรกรศุภโกศล ประพนธปรีชาชาญโบราณคดี สังคีตวาทิตวิธีจารณ์ มโหฬารสีตลัธยาศรัย พุทธาทิไตรรัตน์ สรณานุวัติ ขัตติยเดชานุภาพบพิตร”

          ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่กับงานศิลปะและวิทยาการจนพระกำลัง พระปัญญาเสื่อมลงทุกที

67148_664497

พระเมรุองค์เดียวกับพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

ด้วยทรงพระชราด้วยโรคภัยเบียดเบียน คือ โรคพระหทัยโต หลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคเส้นพระโลหิตแข็ง วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2490 จึงสิ้นพระชนม์โดยสงบ ขณะมีพระชันษาได้ 83 ปี มีการจัดพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ณ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ.2493 โดยใช้พระเมรุองค์เดียวกับพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

พระกรณียกิจของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

ด้านการศึกษา

            ถึงแม้ว่าพระองค์จะทรงปฏิบัติหน้าที่ทางการศึกษาอยู่ในช่วงระยะเวลาสั้นเพียงประมาณ 3 ปี (พ.ศ. 2333 – 2335) แต่พระองค์ ทรงมีพระดำริริเริ่มเป็นเยี่ยมในพระกรณียกิจด้านนี้หลายประการ กล่าวคือ
1. ทรงเริ่มงานจัดการศึกษาเป็นครั้งแรก เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนสภาพ “โรงเรียนทหารมหาดเล็ก” ซึ่งเป็นโรงเรียนฝึกสอนวิชาทหารให้แก่นายร้อย นายสิบ ในกรมทหารมหาดเล็ก มาเป็นโรงเรียนสำหรับพลเรือน มีชื่อเรียกว่า “โรงเรียนพระตำหนัก สวนกุหลาบ” และพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งผู้จัดการโรงเรียน
2. ในขณะที่ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมธรรมการ ได้ทรงจัดวางระเบียบการบริหารราชการของกรมและโรงเรียน กล่าวคือ ทรงวางระเบียบ ข้อบังคับตำแหน่งหน้าที่เสมียน พนักงาน ในการเข้ารับราชการ การเลื่อนตำแหน่ง ลาออก ลงโทษ ตลอดจนทรงกำหนดให้มีการตรวจสอบและ รายงานผลตรวจโรงเรียนทั้งในกรุงและหัวเมืองของพนักงานด้วย
3. ทรงขยายการศึกษาโดยอาศัย “วัด” ซึ่งเป็นสถานที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ และอบรมศีลธรรมให้แก่ราษฎรมาแต่โบราณ และ “วัดมหรรณพาราม” เป็นโรงเรียนหลวงแห่งแรกที่ทรงจัดตั้งขึ้น การศึกษาลักษณะนี้ได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวางทั่วกรุงเทพฯ ในเวลาต่อมา และเมื่อทรงปรับปรุง หลักสูตรและวิธีการHis01สอน ตลอดจนจัดพิมพ์ตำราเรียนเรียบร้อยแล้ว ได้ทรงขยายการศึกษาออกไปสู่ราษฎรตามหัวเมืองต่าง ๆ โดยทรงจัดตั้ง โรงเรียนหลวงขึ้นทั่วประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2435
4. ทรงริเริ่มจัดให้มีการตรวจสอบตำราเรียนและออกประกาศรับรอง ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ และความสามารถอย่างเหมาะสม และทรงกำหนด ให้มีการปรับปรุงหลักสูตรตำราเรียนขึ้นใหม่ คือ ตำราแบบเรียนเร็ว
5. ทรงจัดตั้ง “โรงเรียนฝึกหัดข้าราชการพลเรือน” เมื่อ พ.ศ. 2442 ในขณะที่ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ซึ่งต่อมา ใน พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนมหาดเล็ก” และเปลี่ยนเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ในเวลาต่อมา
6. ทรงปรับปรุงและแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ของหอพระสมุดวชิรญาณ ซึ่งเป็นหอสมุดแห่งเดียวในพระนคร เช่น ทรงกำหนดให้มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการดำเนินงาน จัดงบประมาณสำหรับซื้อหนังสือ กำหนดระเบียบวิธีการยืม และการเป็นสมาชิก เป็นต้น

                                                                                                             โรงเรียนมหาดเล็กที่เปลี่ยนเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ด้านมหาดไทย

00454

          ซึ่งเป็นกิจการสำคัญยิ่งในการบริหารประเทศนั้น พระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญยิ่งในการก่อตั้งและปฏิรูปการจัดระเบียบการปกครอง ภายในประเทศ และการบริหารราชการของกระทรวงมหาดไทยกล่าวคือ
1. ทรงจัดการบังคับบัญชางานภายในกระทรวง ให้มีรูปแบบเป็นระบบราชการชัดเจนขึ้น มีลำดับขั้นการบังคับบัญชา มีการแบ่งงานและเลือกสรร ผู้มีความรู้ความสามารถเข้ารับราชการ โดยการจัดสอบคัดเลือกตลอดจนออกระเบียบวินัยต่าง ๆ เช่น เลิกประเพณีให้ข้าราชการทำงานอยู่ที่บ้าน กำหนดให้มีการประชุม0445664ข้าราชการทุกวัน กำหนดเวลาการทำงาน ตลอดจนจัดระเบียบส่ง ร่าง เขียน และเก็บหนังสือราชการ เป็นต้น
2. ทรงจัดระบบการปกครองส่วนภูมิภาค ซึ่งเรียกว่า “ระบบเทศาภิบาล” ได้เป็นผลสำเร็จ และนับว่าเป็นผลงานสำคัญที่สุดของพระองค์ โดยทรงรวมหัวเมืองต่าง ๆ จัดเข้าเป็น “มณฑล” และมี “ข้าหลวงเทศาภิบาล” เป็นผู้บังคับบัญชา อยู่ในอำนาจของเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยอีกชั้นหนึ่ง สำหรับการแบ่งเขตย่อยลงไปเป็นจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้านนั้น ใน พ.ศ. 2440 ได้ออก “พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่” บังคับใช้ทั่วพระราชอาณาจักร
พระราชกรณียกิจด้านการปกครองส่วนท้องถิ่นที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ทรงริเริ่มจัดตั้ง “การสุขาภิบาลหัวเมือง” ในปี พ.ศ. 2448 โดยเริ่มที่ ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร เป็นแห่งแรก และนับเป็นการปูพื้นฐานการปกครองส่วนท้องถิ่น
พระกรณียกิจด้านมหาดไทยทุกประการ จึงล้วนแต่เป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนยั่งยืนมาจนถึงปัจจุบัน

ด้านสาธารณสุข

343untitled1

                                                                                                   ปาตุรสภา 

          ทรงรับภาระในการจัดการโรงเรียนแพทย์ต่อจาก พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ ทรงมีพระดำริริเริ่มให้มีโอสถศาลา สำหรับรับหน้าที่ผลิตยาแจกจ่ายให้ราษฎรในตำบลห่างไกล ซึ่ง ปัจจุบันคือ สถานีอนามัย และทรงจัดตั้งปาสตุรสภา สถานที่ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งในปัจจุบันโอนไปอยู่ในสังกัดของสถานเสาวภา สภากาชาดไทย นอกจากนี้พระองค์ยังทรงรับพระภารกิจด้านงานสรรพากร และงานอุตสาหกรรมโลหกิจ ซึ่งเป็นแนวทางพัฒนางานมาจนถึงปัจจุบันด้วย

ด้านศิลปวัฒนธรรม

national-library-thailand-2

                                                                        หอสมุดแห่งชาติในสมัยอดีต

         ทรงริเริ่มและวางรากฐานการดำเนินงานของกิจการพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติ และพระองค์ท่านก็ทรงอุทิศเวลา ทรงพระนิพนธ์หนังสือ ตำราต่าง ๆ ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี และมรดกทางปัญญาของชาวโลกมาจนกระทั่งทุกวันนี้

 post4-08-52

<<< ตัวอย่างหนังสือที่กรมพระยาดำรงฯ ทรงนิพนธ์

          นอกจากนี้ ยังมีพระกรณียกิจที่พระองค์ยังทรงรับพระราชภาระจัดการและมีส่วนร่วมในการปรับปรุงกิจการด้านอื่น ๆ อีกหลายด้าน ได้แก่ ด้านการป่าไม้ ซึ่งทรงริเริ่มก่อตั้งกรมป่าไม้ขึ้นเพื่อให้หน่วยงานของรัฐได้เข้าไปควบคุมดูแลกิจการป่าไม้โดยตรง และทรงริเริ่ม ให้ดำเนินการออกพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง และกฎข้อบังคับต่าง ๆ เพื่อเป็นผลประโยชน์ของกรมป่าไม้เป็นหลักสำคัญและเป็นรากฐานในการ ปฏิบัติงานของกรมป่าไม้มาจนถึงปัจจุบัน ทรงริเริ่มการออกโฉนดที่ดิน

พระประวัติสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

unesco(1)

ประสูติ

          สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 57 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 062154_0123_213   ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม ภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2405 พระองค์ได้รับพระราชทานพระนามจากสมเด็จพระบรมชนกนาถเมื่อวันสมโภชเดือน โดยมีรายละเอียดว่า “สมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าแผ่นดินสยาม ผู้พระบิดา ขอตั้งนามกุมารบุตรที่เกิดแต่ชุ่มเล็กเป็นมารดานั้น และซึ่งคลอดในวันเสาร์ แรม 9 ค่ำ เดือน 7 ปีจอจัตวาศกนั้น ว่าดังนี้ พระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าดิศวรกุมาร นาคนาม ขอจงเจริญชนมายุ วรรณ สุข พล ปฏิภาณ สรรพสิ่งสิริสวัสดิพิพัฒนมงคลทุกประการ สิ้นกาลนานต่อไป เทอญ”

          ชาววังโดยทั่วไป เรียกกันว่า “พระองค์ดิศ” โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำเอานามของพระอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ) ซึ่งเป็นบิดาของเจ้าจอมมารดาชุ่มมาตั้งพระราชทาน เนื่องจากทรงพระราชดำริว่าท่านเป็นคนซื่อตรง

ทรงศึกษา

          พระองค์ทรงเริ่มเรียนหนังสือไทยชั้นต้น จากสำนักคุณแสงและคุณปาน ราชนิกุล ในพระบรมมหาราชวัง ทรงศึกษาภาษาอังกฤษในโรงเรียนหลวง ซึ่งมีมิสเตอร์ฟรานซิส ยอร์ช แพตเตอร์สัน เป็นพระอาจารย์ พ.ศ.2418 เมื่อมีพระชนม์ได้ 13 พรรษา ได้ทรงผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทางเป็นพระอุปัชฌาย์และประทับจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร200px-Damrongraja

พ.ศ.2420        ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ได้รับพระราชทานยศเป็นนายร้อยตรีทหารมหาดเล็ก บังคับกองแตรวง พระชนมายุได้ 15 ปี

สิ้นพระชนม์

          เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2486 ที่วังวรดิศ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพสิ้นพระชนม์ สิริรวมพระชนมายุได้ 81 พรรษา ได้ทรงประกอบพระกรณียกิจด้านต่างๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นงานใหญ่และงานสำคัญอย่างยิ่งของบ้านเมือง ทรงเป็นกำลังสำคัญในการบริหารประเทศหลายด้าน และทรงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างสูง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เคยตรัสชมพระองค์เปรียบเทียบว่า “เป็นเสมือนเพชรประดับพระมหาพิชัยมงกุฎ”

          ผลงานด้านต่างๆของพระองค์แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพอันสูง เป็นที่ประจักษ์แก่มหาชนทุกยุคทุกสมัย

 

การแบ่งประเภทรางวัล

มีคณะกรรมการรวม 7 คณะ คือ

        1. คณะกรรมการฝ่ายการศึกษา

2. คณะกรรมการฝ่ายวิทยาศาสตร์

3. คณะกรรมการฝ่ายวัฒนธรรม

4. คณะกรรมการฝ่ายสังคมศาสตร์

5. คณะกรรมการฝ่ายสื่อสารมวลชน

6. คณะกรรมการระบบสารนิเทศสากล

7. คณะกรรมการยกเว้นอากรนำเข้าวัสดุการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม

องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก เป็นองค์การชำนาญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2489 มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือของนานาชาติ ทางการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม เพื่อให้ทั่วโลกเคารพในความยุติธรรม กฎหมาย สิทธิและเสรีภาพที่มนุษย์พึงมี โดยไม่ถือชาติ เพศ ภาษาหรือศาสนา ตามกฎบัตรสหประชาชาติ

ยูเนสโกเป็นองค์การด้านพุทธิปัญญา มิใช่องค์การที่ให้ความช่วยเหลือด้านเงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือ ดังนั้นยูเนสโกจึงให้ความช่วยเหลือบรรดาประเทศสมาชิกในรูปของแนวความคิดที่ก้าวหน้าจากการวิจัย หรือจากการประชุมปรึกษาหารือ ที่ยูเนสโกเป็นผู้จุดประกายทางการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม

องค์การยูเนสโกมีสำหนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ปัจจุบันมีสมาชิก 193 ประเทศ

images

                                                               ผู้อำนวยการใหญ่คนปัจจุบันคือ นายโคอิชิโระ มัทซึอุระ

ความเกี่ยวข้องกับประเทศไทย

vrbkme9mbw8ospnkvbkvความเป็นมา

            ประเทศไทยเข้าเป็นรัฐสมาชิกขององค์การยูเนสโก เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2492 (ลำดับที่ 49)

ปัจจุบัน ยูเนสโกมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 193 ประเทศ โดยเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2542 หลังจากนั้น 1 ปี รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นตัวแทนของรัฐบาลในการติดต่อกับยูเนสโก โดยได้ตั้งสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ เพื่อเป็นหน่วยประสานงานขึ้นที่กองการสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่ในการให้ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆในประเทศเกี่ยวกับการให้รับความช่วยเหลือ และการร่วมมือกับยูเนสโกในด้านการดำเนินโครงการต่างๆทั้งด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ วัฒนธรรมและสื่อสารมวลชน ความช่วยเหลือมีในรูปของสิ่งพิมพ์ อุปกรณ์ ทุนการศึกษา การจัดการประชุมระหว่างประเทศ การสัมมนา การฝึกอบรม ฯลฯ

สถานภาพปัจจุบันและองค์ประกอบ

        คณะกรรมการแห่งชาติฯ ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตามมติคณะรัฐมนตรี ฉะนั้นสถานภาพของคณะกรรมการจะคงอยู่หรือเปลี่ยนแปลงตามการเปลี่ยนแปลงของคณะรัฐบาล

ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2540 คณะกรรมการแห่งชาติฯ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการดำรงตำแหน่งประธาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการดำรงตำแหน่งรองประธาน ผู้แทนที่มีความรู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆของยูเนสโก จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการ และมีคณะกรรมการโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการฝ่ายต่างประเทศ ทำหน้าที่เป็นเลขาธิการของคณะกรรมการแห่งชาติฯ ผู้อำนวยการกองการสัมพันธ์ต่างประเทศ สป. ทำหน้าที่เป็นรองเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติฯ และหัวหน้ากลุ่มทุกกลุ่มในกองการสัมพันธ์ต่างประเทศ ทำหน้าที่เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาฯสหประชาชาติ

คณะกรรมการแห่งชาติฯ ได้รับการแต่งตั้งตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2540

สำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ

        สำหรับสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ.2504 ต่อมาปีพ.ศ.2544 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานเพื่อการศึกษาในภูมิภาค (UNESCO Asia and Pacific Regional Bureau for Education) ปัจจุบันสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ เป็นสำนักงานของโครงการระดับภูมิภาคด้านการศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ สื่อสารมวลชนและสารสนเทศ ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นสำนักงานผู้แทนโดยตรงของประเทศไทย พม่า ลาวและสิงคโปร์ และประสานงานกับยูเนสโกในประเทศเวียดนาม และกัมพูชา เกี่ยวกับกิจกรรมและโครงการของประเทศเหล่านี้ ผู้อำนวยการสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ คนปัจจุบัน คือ นายกวาง โจ คิม

ภารกิจหลักของสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ มุ่งเน้นด้านการศึกษา โดยมีโครงการภายใต้การดำเนินงานอยู่ 3 โครงการหลัก คือ

1. โครงการการศึกษาเพื่อปวงชนแห่งภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (Asia-Pacific Programmes of Education for All)

2. โครงการนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาแห่งภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (Asia-Pacific Programmes of Educational Innovation and Development)

3. ฝ่ายนโยบายและแผนงานด้านการศึกษา (Education Policy and Reform)

นอกจากนี้ยูเนสโก กรุงเทพฯยังทำหน้าที่ประสานงาน และส่งเสริมโครงการและกิจกรรมในภูมิภาคเอเชีย และแปซิฟิกในสาขาต่างๆ คือ

1. ส่งเสริมการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมและการอนุรักษ์มรดกโลก

2. การพัฒนาและดำเนินการแผนงานวิจัย การเฝ้าสังเกตการณ์มหาสมุทรและการบริการในพื้นที่นั้นๆ

3. ด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

4. ส่งเสริมการเรียนรู้มาตรฐานและความร่วมมือทางปัญญา เพื่อเอื้อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่ตระหนักถึงคุณค่าของความยุติธรรม อิสรภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

5. ด้านการสื่อสารและสารสนเทศ ด้าน HIV อนามัยเจริญพันธุ์ในเยาวชน และสุขศึกษาในโรงเรียน

6. ด้านการสื่อสารและสารสนเทศ

ในฐานะประเทศสมาชิก ประเทศไทยได้ชำระเงินอุดหนุนองค์การเป็นประจำ โดยมีสัดส่วนร้อยละ 0.335 โดยการตั้งงบประมาณไว้ที่กระทรวงศึกษาธิการ ในปีงบประมาณปี พ.ศ.2545 ประเทศไทยได้ชำระค่าสมาชิกให้กับยูเนสโกเป็นจำนวน 35.18 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีเงินอุดหนุนสำนักงานส่วนภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ที่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ เงินอุดหนุนศูนย์ ICCROM ที่ประเทศอิตาลี และเงินอุดหนุนกองทุนมรดกโลกอีก 905,000 บาท

ประเทศสมาชิกองค์การยูเนสโกมีทั้งหมด 193 ประเทศ เรียงตามลำดับตัวอักษร โดยประเทศไทยอยู่อันดับที่ 170

การก่อตั้งเป็นยูเนสโก

องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Education, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2488 และต่อมาเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2489 (ค.ศ.1946) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศสมาชิกก่อตั้ง 20 ประเทศ ได้ร่วมมือกันให้สัตยาบันธรรมนูญองค์การยูเนสโก หรือองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาตินั้น เป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2489 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสunesco23

ยูเนสโกมีจุดมุ่งหมายสำคัญในการสร้างสรรค์สันติภาพ โดยส่งเสริมความร่วมมือของนานาชาติทางการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม เพื่อให้ทั่วโลกเคารพในความยุติธรรม กฎหมาย สิทธิและเสรีภาพที่มนุษย์พึงมี โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา ตามกฎบัตรสหประชาชาติ

ปกติยูเนสโกจะใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ แต่ในระหว่างการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโก และการประชุมคณะกรรมการบริหารของยูเนสโก จะใช้ภาษาที่เกี่ยวข้องถึง 6 ภาษา คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย อาหรับ สเปนและจีนwaterfamilymap_EN_270911

ในการดำเนินงานของยูเนสโกนั้น จะปรากฏในรูปของการประชุมสมัยสามัญ ซึ่งมีทุกๆ 2 ปี คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม จำนวน 58 คน ที่เลือกมาจากผู้แทนของประเทศสมาชิก อยู่ในวาระ 4 ปี โดยจัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการใหม่ครึ่งหนึ่งทุก 2 ปี ผู้อำนวยการใหญ่จะเป็นเจ้าหน้าที่สูงสุดขององค์การในวาระ 6 ปีt1larg.unesco-palestinian-v

ยูเนสโกจัดให้มีสำนักงานส่วนภูมิภาค และสำนักงานย่อยประจำพื้นที่ เพื่อให้ยูเนสโกประสานงานกับประเทศต่างๆได้อย่างใกล้ชิด (ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก มีสำนักงานยูเนสโกประจำภูมิภาคอยู่ที่ กรุงเทพฯ : อาคารดาราคาร, เอกมัย) แต่ละประเทศสมาชิกจะจัดให้มีสำนักผู้แทนถาวรประจำยูเนสโก และสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยยูเนสโกของประเทศนั้นๆ เพื่อจะได้ดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับขอบข่ายงานของยูเนสโกโดยเฉพาะ

สำนักผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก ได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 เป็นต้นมา มีสำนักงานอยู่ที่กรุงปารีส ปัจจุบันมีเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงปารีสเป็นผู้แทนถาวรไทย และได้มี ดร.ดวงทิพย์ สุรินทาธิป เป็นรองผู้แทนถาวรไทยประจำยูเนสโก สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

About me (;

image

My name :  Kanjana  Vorasing

My Birth Day : Tuesday 14 November  1989

My Group Blood : B

My Favorite : I like sleep ^^ 555  I’m just kidding !!  I love dog cat … etc. but don’t like an animal doesn’t have wool.  And many things to i like if you want to know it, you can ask with me !!

My Graduate :  Elementary Education, Satriburanawith School

Secondary Education, Satrinonthaburi School

High school Education, Satrinonthaburi School

Bachelor’s Degree, Social Studies in Faculty of Education at Silpakorn University

I hope you think to know about me with me but another person! ^^~