พระราชประวัติ

download (2)                  จอมพลเรือสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (พระสมภพ 1 มกราคม พ.ศ. 2434 – ทิวงคต 24 กันยายน พ.ศ. 2472) ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชชนก ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลฯ พระอัฐมรามาธิบดินทรและพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ทรงมีคุณูปการแก่กิจการแพทย์แผนปัจจุบัน และการสาธารณสุขของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ประชาชนโดยทั่วไปมักคุ้นเคยกับพระนามว่า “กรมหลวงสงขลานครินทร์” หรือ “พระราชบิดา”

          และบางครั้งก็ปรากฏพระนามว่า “เจ้าฟ้าทหารเรือ” และ “พระประทีปแห่งการอนุรักษ์สัตว์น้ำของไทย” ส่วนชาวต่างประเทศเรียกพระนามว่า “เจ้าฟ้ามหิดล”

พระราชประวัติขณะทรงพระเยาว์

          สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 69 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 7 ในสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ เดือนยี่ ปีเถอะ ขึ้น 3 ค่ำ (ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2434 ตามปฏิทินเก่า ถ้านับตามปฏิทินสากล ต้องเป็น พ.ศ. 2435) มีพระนามเต็มว่า

“สมเด็จเจ้าฟ้าชายมหิดล อดุลยเดชนเรศวรมหาราชาธิบดินทร์ จุฬาลงกรณณินทรวรางกูร สมบูรณ์เบญจพรสิริสวัสดิ์ขัตติยวโรภโตสุชาติ คุณสังกาศเกียรติประกฤษฐลักษณะวิจิตรพิสิฎฐบุรุษย์ ชนุดมรัตนพัฒนศักดิ์ อรรควรราชกุมาร”

          เมื่อยังทรงพระเยาว์ ประทับอยู่กับสมเด็จพระราชชนนีในพระบรมมหาราชวัง โดยมีกรมหลวงสมรรัตนศิริเชษฐ์ ทรงเป็นผู้ถวายการดูแลอย่างใกล้ชิด พระพี่เลี้ยง คือ หม่อมเจ้ากุสุมา เกษมสันต์ พระพลานามัยไม่สมบูรณ์นัก ต้องเสวยน้ำมันตับปลาเป็นประจำ พระกระยาหารที่ทรงโปรดมาก คือ ปลากุเลากับส้มโอฉีก

ส่วนเครื่องหวานทรงโปรดอ้อยควั่นแช่น้ำดอกไม้สด สมเด็จพระบรมราชชนกได้รับการถวายพระอักษรตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์มากที่โรงเรียนราชกุมาร ในพระบรมมหาราชวัง โดยมีพระยาอิศรพันธุ์โสภณ (หนู) เป็นพระอาจารย์ภาษาไทยคนแรก ทรงมีพระสหายสนิท คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ในส่วนพระราชจริยวัตรนั้น ไม่ทรงถือพระองค์และทรงมีน้ำพระทัยเมตตากรุณา ต่อบรรดุาประชาราษฎร์มาแต่ยังทรงพระเยาว์

สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช เมื่อพระชนม์ได้ 12 พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีมหามงคลโสกันต์ มีการสมโภช 7 วัน 7 คืน ตั้งแต่วันที่ 24 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2446 หลังโสกันต์แล้ว

เป็นพระราชประเพณีโบราณมา ที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้า เมื่อทรงพระชันษาเจริญขึ้น สมควรกาลแล้ว ก็พระราชทานพระสุพรรณบัฏเฉลิมพระนาม ตามควรที่ตั้งอยู่ใพระบรมราชตระกูลอันสูงศักดิ์ บางพระองค์ โปรดเกล้าฯ ให้ดำรงพระเกียรติยศเป็นเจ้าฟ้าต่างกรม ทรงศักดินาเต็มตามพระราชกำหนด เป็นธรรมเนียมสืบมา ทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชายมหิดลทรงพระเจริญวัย สมควรได้รับพระสุพรรณบัฏ เฉลิมพระนามตามขัตติยราชประเพณี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีตามอย่างที่เคยมีมาก่อน

ให้สถาปนาสมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าชายขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช นเรศวรมหาราชาธิบดินทร์ จุฬาลงกรณินทรวรางกูร สมบูรณ์เบญจพรสิริสวัสดิ์ ขัตติยวโรภโตสุชาติ คุณสังกาศเกียรติประกฤษฐ์ ลักษณวิจิตรพิสิฎฐบุรุษย์ ชนุดมรัตนพัฒนศักดิ์ อรรควรราชกุมาร กรมขุนสงขลานครินทร์ มุสิกนาม ให้ทรงศักดินา 40,000 ตามพระราชกำหนดอย่างสมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าต่างกรม ในพระบรมราชตระกูลอันสูงศักดิ์

paragraph_608

 

ในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2447 หลังจากพิธีโสกันต์ได้ 1 ปี สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงผนวชเป็นสามเณรที่วัดบวรนิเวศวิหาร พร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช) ซึ่งการนี้มีการสมโภชที่พระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย ระหว่างทรงผนวชประทับที่ “ตำหนักทรงพรต” ทรงลาผนวช เมื่อวันที่ 13 ธนวาคม พ.ศ. 2447

 

 

<<< (คนกลาง) คือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

 

 

 

 

 

หมอเจ้าฟ้า

          พระบรมราชชนกทรงมีความเอาใจใส่ในการรักษาประชาชนอย่างมาก ชาวเมืองเชียงใหม่จึงขนานพระนามพระองค์ว่า หมอเจ้าฟ้า สมเด็จพระบรมราชชนกได้ประทับที่เมืองเชียงใหม่ประมาณ 3 สัปดาห์ ก็ต้องเสด็จกลับกรุงเทพฯ ในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2472 เนื่องในพระราชพิธี

และเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 เวลา 16.45 น. พระบรมราชชนกก็ได้เสด็จสวรรคตด้วยพระโรคพระวักกะวาย พระชนมายุได้ 38 พรรษา หลังจากทรงทนทรมานอยู่ได้ 3 เดือนครึ่ง

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามสกุลสำหรับผู้ผู้สืบสายพระบรมราชวงศ์ชั้น 5 เมื่อพ.ศ. 2472

โดยเชื้อพระวงศ์ที่สืบสายพระโลหิตจากสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกให้ใช้ราชสกุลว่า “มหิดล” จนถึงปัจจุบัน

ใส่ความเห็น